วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พันธกิจและวิสัยทัศน์

พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิต
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับของประเทศ
3. พัฒนาชุมชน องค์กร และสถาบันในสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
4. วิจัย ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ และภูมิปัญญาไทย
5. อนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม

วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลชั้นนำของโลก ให้การศึกษาตลอดชีวิต
สำหรับทุกคน

รางวัลและการยกย่อง

รางวัล และ การยกย่อง
รางวัลความเป็นเลิศ
ปี 2538 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับรางวัล AWARD OF EXCELLENCE จาก THE INTERNATIONAL COUNCIL FOR DISTANCE EDUCATION และ THE COMMONWEALTH OF LEARNING ในประเภทสถาบันที่มีความเป็นเลิศในด้านการจัดการศึกษาทางไกล โดยคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาที่ ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลทั้งหมด 79 ประเทศทั่วโลก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นสถาบันเดียวที่ได้รับ รางวัลนี้ ในฐานะที่มหาวิทยาลัยปฏิบัติภารกิจเป็นเลิศ ในด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาการ พัฒนาเทคนิคด้านการเรียน การสอนทางไกล และการสนับสนุนการศึกษาทางไกลในระดับ ประเทศและระดับภูมิภาค

รางวัลการบริหารดีเด่นแห่งเอเชีย
THE ASIAN MANAGEMENT AWARD ปี 2536 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับรางวัล THE ASIAN MANAGEMENT AWARD สาขาการพัฒนาการบริหารดีเด่น จาก THE ASIAN INSTITUTE OF MANAGEMENT รางวัลนี้เป็นรางวัลสำหรับองค์การ หรือบริษัทที่มีผลงานการบริหารดีเด่น ในด้าน ต่าง ๆ จาก 6 ประเทศ ประกอบด้วย ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย การคัดเลือกหน่วยงานที่จะได้รับรางวัล การพัฒนาการบริหารดีเด่นนี้ จะพิจารณาหน่วยงานหรือ องค์การ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร และมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของประชาชน โดยผ่านขั้นตอนการพิจารณาทั้งจากการ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน และการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ทางการบริหาร

รางวัลสังข์เงิน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัลสังข์เงิน ประจำปี 2527 จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านการประชาสัมพันธ์ สาขาการศึกษา โดยที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการสอนทางไกลสมบูรณ์แบบแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ประยุกต์เทคโนโลยีทางสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ มาใช้ในการจัดการศึกษาถึงบ้าน และบริการถึงตัว เป็นผลให้เกิดความเสมอภาคในโอกาสของการศึกษา ในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางทั่วถึงทุกท้องถิ่นในประเทศไทย

รางวัลเมขลา
รางวัลเมขลาประจำปี 2535 รายการ กฎหมายเพื่อประชาชน รายการกฎหมายเพื่อประชาชน เป็นรายการโทรทัศน์ เพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง11 กรมประชาสัมพันธ์ ได้รับรางวัลเมขลา ประจำปี 2535 ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่ง ประเทศไทย
รางวัลเมขลาประจำปี 2545 รายการ เวลา มสธ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัล “ผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์” หรือรางวัล “เมขลา” ครั้งที่ 22 ประจำปี 2545 จากสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ประเภทรายการส่งเสริมความรู้ด้านการศึกษาดีเด่น คือ รายการ เวลามสธ.ซึ่งเป็นรายการที่เน้นสื่อสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและประชาชนทั่วไปกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่เป็นข่าวสารความรู้ และเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย ศิลปวัฒนธรรม การฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น เป็นต้น รายการเวลามสธ. ออกอากาศทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์

รางวัลเหรียญทอง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประจำปี 2545
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัลเหรียญทอง การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ ชุดบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “Hello and Goodbye” จากส่วนมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน

รางวัลดีเด่น ในการผลิตงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ประจำปี 2544-2545
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัลในการผลิตงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 20 ประจำปี 2544-2545 ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยสถาบันการศึกษา ชุดการสอนภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์ การฟัง การพูด เรื่อง “Getting Around and Hello and Goodbye” ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ

รางวัลสุริยศศิธร
รางวัลสุริยศศิธร เป็นรางวัลการประกวดปฏิทินดีเด่น จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย จัดการประกวด ปฏิทินตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 โดยมีหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน กลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั่วประเทศได้ส่งปฏิทินประกวด เป็นประจำทุกปี ปี พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัล “สุริยศศิธร” ชนะเลิศ ปฏิทินตั้งโต๊ะ ชุด ของดีเมืองอุดรฯ ปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัล “สุริยศศิธร” ชนะเลิศ ปฏิทินชนิดตั้งโต๊ะ ประเภทเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์
ปี พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้รับรางวัลชนะเลิศปฏิทินดีเด่นชนิดสมุดบันทึก ประเภทเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ "ชุด ๗๐ ปี ความรักของพระปกเกล้าฯ" โดยมีนายธนิต แสงประดับ
หน่วยศิลปะ สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยฯ เป็นผู้ออกแบบ
โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นประธาน พิธีมอบรางวัลให้กับมหาวิทยาลัยฯ

ความเป็นมาของ มสธ.

ความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามที่รัฐบาลจะขยายโอกาส เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษา แก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้ว ในประเทศไทยโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" รับนักศึกษาโดยไม่มีการสอบคัดเลือก ไม่บังคับให้เข้าฟังบรรยาย แต่ยังคงใช้วิธีการจัดการศึกษา ในลักษณะเดียวกับมหาวิทยาลัยทั่วไป คือใช้ชั้นเรียนเป็นหลัก นักศึกษาอาจศึกษาได้ด้วยตนเอง หรืออาจเข้าฟังบรรยาย หรือไปพบอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ ต่อมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เปลี่ยนมาเป็นระบบจำกัดการรับนักศึกษาเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ

ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเปิดหลักสูตรการศึกษามากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะที่เปิดสอนในระบบตลาดวิชา และสามารถรับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมาก แต่ยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก เช่นเดียวกันทำให้มากวิทยาลัย รามคำแหงประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านอาคารสถานที่เรียน ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี

หากมหาวิทยาลัยรามคำแหงจะขยายการจัดการศึกษาที่ดำเนินการอยู่นี้ให้เพียงพอกับความต้องการ ของผู้เรียนแล้ว รัฐบาลและมหาวิทยาลัยจะต้องรับภาระหนักในด้านการลงทุนซึ่งเพิ่มขึ้นทุกปี ไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อเป็นการขยายและกระจายโอกาส ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชน ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นอีกแห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด รัฐบาลจึงดำเนินการดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยจึงกำหนดวันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย

ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีอำนาจให้ปริญญา และประกาศนียบัตรที่มีศักดิ์และสิทธิเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยของรัฐอื่น ๆ ทุกประการ

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก รวมทั้งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนแรก

หลังจากได้ใช้เวลาเตรียมการด้านต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมที่จะเปิดสอนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2523 สาขาวิชาที่เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ

ต่อมา มหาวิทยาลัยได้ขยายการเปิดรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนี้
ปีการศึกษา 2524 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชานิติศาสตร์
ปีการศึกษา 2525 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์)
ปีการศึกษา 2526 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชารัฐศาสตร์
ปีการศึกษา 2527 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2538 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ รวมเป็น 12 สาขาวิชา

การจัดการการศึกษาระดับปริญญาตรีโดยระบบการศึกษาทางไกลได้รับความสำเร็จและได้รับการยอมรับในมาตรฐานเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยของรัฐ จึงได้ขยายการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่จะศึกษาต่อในระดับสูงกว่าปริญญาตรี โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงมีนโยบายให้เปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ในระดับปริญญาโท ตามลำดับ ดังนี้

ปีการศึกษา 2536 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2542 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
ปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาวิทยาการจัดการ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
และสาขาวิชาส่งเสริมเกษตรและสหกรณ์
ปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
ปีการศึกษา 2545 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์
ปีการศึกษา 2546 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชานิเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2548 เปิดรับนักศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
ปีการศึกษา 2552 สาขาวิชานิติศาสตร์

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนระดับปริญญาเอก ตามลำดับ ดังนี้
ปีการศึกษา 2549 เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ปีการศึกษา 2551 เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
ปีการศึกษา 2553 เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์

สาขาศิลปศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาศิลปศาสตร์ ที่นี่

สาขาศึกษาศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาศึกษาศาสตร์ ที่นี่

สาขาวิทยาการจัดการ

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาวิทยาการจัดการ ที่นี่

สาขานิติศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขานิติศาสตร์ ที่นี่

สาขาเศรษฐศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่นี่

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่นี่

สาขามนุษย์นิเวศศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขามนุษย์นิเวศศาสตร์ ที่นี่

สาขารัฐศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขารัฐศาสตร์ ที่นี่

สาขาส่งเสริมการเกษตร

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาส่งเสริมการเกษตร ที่นี่

สาขานิเทศศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขานิเทศศาสตร์ ที่นี่

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ที่นี่

สาขาพยาบาลศาสตร์

คลิ๊กอ่านแนะนำสาขาพยาบาลศาสตร์ ที่นี่

ก้าวไปกับ มสธ.

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

MV การเปลี่ยนแปลง - บอย พีชเมกเกอร์

ชมรมเพื่อน มสธ.

             ยินดีต้อนรับบ้านตากอากาศหลังใหม่ครับ ที่นี่ Web Blog คนกันเอง ชมรมเพื่อน มสธ. ทุกคน ทุกรุ่น   ทุกสาขาวิชา คุยเฟื่องเรื่องกันเอง เนื้อหาสาระแบ่งปันและแบ่งฝันด้วยกัน
          มิตรภาพบนโลก Intet net จะไม่เป็นเพียงจินตนาการ แต่สัมผัสด้วยอุ่นไอรักฉันท์มิตร จากหนึ่งถึงล้าน สานฝันกับ มสธ. ร้อยอารมณ์ ล้านความรู้สึก เป็นจริงบนชีวิตจริง
           การศึกษาทางไกลกับ มสธ. จึงเป็นเรื่องของการสร้างระเบียบวินัยแก่ตนเองอย่างเข้มงวดและพัฒนาการด้านความคิดให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นอย่างสูงสุดและสุดความสามารถให้สมกับเป็นบัณฑิตทั้งกายทั้งใจ
          
           บทสรุปชมรมเพื่อน มสธ. คือ รักกันและกันด้วยมิตรภาพสัมพันธ์ สร้างสรรค์สังคม ผสมผสานความคิดเห็นที่แตกต่าง ช่วยเหลือสังคมด้วยใจอาสา
ให้เกียรติและเคารพสถาบัน พัฒนาการศึกษาที่กว้างใหญ่